วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่1
วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
1. ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร
ตอบ ฮัลล์ (Hull1884-1952:ไม่ระบุ)ได่กล่าวว่า หลักการทดลองของเขาใช้หลักการคณิตศาสตร์มาสร้างทฤษฎีทางจิตวิทยาอย่างมีระบบ ซึ่งเป็นแบบS-Rคือการต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยกล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ต่างๆในรูปของคณิตศาสตร์มีการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างการ จูงใจกับกลไกในการรู้เรียนและกล่าวถึงพื้นฐานของการเรียนรู้เกิดจากการเสริม แรงมากกว่าการจูงใจ
ทอลแมน(Tolman1886-1959:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่าที่ศึกษาความมุ่งหมายและความคาด หวังของมนุษย์ที่มีผลต่อพฤติกรรมแนวคิดของการเรียนคือการใหผู้เรียนสร้าง โครงสร้างหรือเครื่องมีอขึ้นและโยงความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องหมายและเป้า หมายเข้าด้วยกันและการจะบรรลุเป้าหมายก็ด้วยการกระทำของผู้เรียน
ธอร์นไดค์(1814-1949:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งหลายรูปแบบบุคคลจะมีการลองผิดลองถูก(trial and error)ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบรูปแบบที่ตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึง พอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วบุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบ เดียวและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไป เรื่อยๆ
ออซูเบล(Ausubel,1963:77-97)ได้กล่าวว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน
สรุป

ทฤษฎีการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลที่กล่าวมาแล้วย่อมสามารถเป็นแนวทางในการ จัดการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์ได้แต่ก็มิได้หมายความว่าครูจะสอนโดยยึด ครูเป็นศูนย์กลางไม่ได้ซึ่งความจริงแล้วครูควรเลือกทฤษฎีการเรียนรู้และวิธี การที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระวัตถุประสงค์สอดคล้องกับสังคมศาสนาและวัฒนธรรม
2.มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร
ตอบ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)
นักคิดในกลุ่มนี้เมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่ เลว(neutral-passive)การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่ง เร้า(stimulus-response)การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็น สิ่งที่เห็นได้ชัดสามารถวัดได้และทดสอบได้ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ประกอบ ด้วยแนวคิดสำคัญ3แนวด้วยกันคือ
1.ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์(Thorndike’sClassicalConnectionism)
ธอร์นไดค์(1814-1949:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองซึ่งหลายรูปแบบบุคคลจะมีการลองผิดลองถูก(trial and error)ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบรูปแบบที่ตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึง พอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วบุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบ เดียวและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไป เรื่อยๆ
2.ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(ConditioningTheory)
2.1ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ(ClassicalConditioning)
พาฟลอฟ(1849-1936:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่าได้ทำการทดลองให้สุนัขน้ำลายไหลด้วย เสียงกระดิ่งโดยธรรมชาติแล้วสุนัขจะไม่มีน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง แต่พาฟลอฟได้นำเอาผงเนื้อบดมาเป็นสิ่งเร้าคู่กับเสียงกระดิ่งผงเนื้อบดถือ ว่าเป็นสิ่งเร้าตามธรรมชาติ(Unconditioned Stimulus)ทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้เขาใช้สิ่งเร้าทั้งสองคู่กันหลายๆครั้งแล้ว ตัดสิ่งเร้าตามธรรมชาติออกเหลือแต่เสียงกระดิ่งซึ่งเป็นสิ่งเร้าท่า งเงื่อนไขปรากฏว่าสุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งอย่างเดียวสรุปได้ ว่าการเรียนรู้ของสุนัขเกิดจากการรูจักเชื่อมโยงระหว่างเสียงกระดิ่ง ผงเนื้อบดและพฤติกรรมน้ำลายไหล
พาฟลอฟจึงสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้
1.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้อง การทางธรรมชาติ(สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้รับผงเนื้อ)
2.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับ สิ่งเร้าตามธรรมชาติ(สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง)
3.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้า ตามธรรมชาติ(เมื่อสั่นกระดิ่งโดยไม่ให้ผงเนื้อติดๆกันหลายครั้งสุนัขจะหยุด น้ำลายไหล)
4.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตาม ธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ(เมื่อผ่านไปช่วง ระยะเวลาหนึ่งสั่นกระดิ่งใหม่โดยไม่ให้ผงเนื้อเช่นเดิมสุนัขจะน้ำลายไหลอีก)
5.มนุษยีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายๆกันและจะตอบสนอง เหมือนๆกัน(เมื่อสุนัขเรียนรู้โดยมีเสียงกระดิ่งเป็นเงื่อนไขแล้วถ้าใช้ เสียงนกหวีดหรือระฆังทีคล้ายเสียงกระดิ่งสุนุขก็จะมีน้ำลายไหลได้)
6.บุคคลมีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันไปและเลือกตอบ สนองได้ถูกต้อง(เอใช้เสียงกระดิ่งเสียงฉิ่งเสียงประทัดเสียงอื่นๆสุนัขจะ น้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งส่วนเสียงอื่นๆจะไม่ทำให้สุนัขน้ำลายไหล)
7.กฎแห่งการลดภาวะ(LawofExtinction)ความเข้มของการตอบสนองจะลดลงเรื่อยๆหาก บุคคลได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างเดียว
8.กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ(LawofSpontaneous Recovery)กล่าวคือการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขที่ลดลงสามารถเกิดขึ้นได้อีก
9.กฎแห่งการถ่ยโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่นๆ(LawofGeneralization)เมื่อ เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขหากมีสิ่งเร้าคล้ายๆกับสิ่งเร้าที่วาง เงื่อนไขมากระตุ้นอาจทำให้เกิดการตอบสนองเหมือนกัน
10.กฎแห่งการจำแนกความแตกต่างๆ(LawofDiscrimanation)หากมีการใช้สิ่งเร้าที่ วางเงื่อนไขหลายแบบแต่มีกาใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขเข้าคู่กับสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นสามารถแยกความแตกต่างและเลือกตอบ สนองเฉพาะสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเท่านั้นได้
2.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง(Contiguous Conditionig)
กัทธรี(1886-1959:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่าได้ทำการทดลองโดยปล่อยแมวที่หิวจัด เข้าไปในกล่องปัญหามีเสาเล็กๆตรงกลางมีกระจกที่ประตูทางออกมีปลาแซลมอลวาง ไว้นอกกล่องเสาในกล่องเป็นกลไกเปิดประตูแมวบางตัวใช้แบบแผนการกระทำหลายแบบ เพื่อจะออกจากกล่องแมวบางตัวใช้วิธีเดียวกัทธรีอธิบายว่าแมวใช้การกระทำคร้ง สุดท้ายที่ประสบผลสำเร็จเป็นแบบแผนยึดไว้สำหรับแก้ปัญหาครั้งต่อไปและการ เรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียวก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำ เป็นต้องทำซ้ำอีกกฎการเรียนรู้ของกัทธรีสรุปไดดังนี้
1.กฎแห่งความต่อเนื่อง(LawofContiguity)
เมื่อมีกลุ่มสิ่งเร้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากระตุ้นจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง
2.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว(Onetrial learning)
เมื่อมีสภาวะสิ่งเร้ามากระตุ้นอินทรีย์จะแสดงปฏิกิริยาออกมาถ้าเกิดการเรียน รู้ขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียวก็นับว่าได้เรียนรู้ขึ้นแล้วไม่จำเป็นต้องทำ ซ้ำอีก
3.กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย(LawofRecency)หากการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่าง สมบูรณ์แล้วในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่งเมื่อมีสภาพใหม่เกิดขึ้นอีกบุคคลจะ กระทำเหมือนที่เคยได้กระทำในครั้งสุดท้ายที่ได้เกิดการเรียนรู้นั้นไม่ว่าจะ ผิดหรือถูกก็ตาม
4.หลักการจูงใจ(Motivation)การเรียนรู้เกิดจากการจูงใจมากกว่าเสริมแรง
2.3ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์(OperantConditioning)
สกินเนอร์(1904-1990:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่า1.การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกส่วนการกระทำที่ไม่มการเสริมแรงแนวโน้มที่ความ ถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด(จากการทดลองโดยนำหนูที่หิวจัดใส่ กล่องภายในมีการบบังคับให้อาหารตกลงไปในกล่องได้ตอนแรกหนูจะวิ่งชนโน่นชนนี่ เมื่อชนคานจะมีอาหารตกให้กินทำหลายๆครั้งพบว่าหนูจะตกคานทำให้อาหารตกลงมาไป ได้เร็วขึ้น)
2.การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตาย ตัว(จากการทดลองโดยเปรียบเทียบหนูที่หิวจัด2ตัวตัวหนึ่งกดคานจะได้อาหารทุก ครั้งอีกตัวหนึ่งกดคานบางทีก็ได้อาหารบางทีก็ไม่ได้อาหารแล้วหยุดให้อาหาร ตัวแรกจะเลิกกดคานทันทีตัวที่2จะยังกดต่อไปอีกนานกว่าตัวแรก)
3.การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว(จากการทดลองโดยนำหนูที่หิวจัดใส่ กรงแล้วช็อกด้วยไฟ้ฟ้าหนูจะวิ่งพลานจนออกมาได้เมื่อจับหนูใส่เข้าไปใหม่มัน จะวิ่งพล่านอีกจำไม่ได้ว่าทางไหนคือทางออก)
4.การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลหรือให้รางวัลเมื่ออินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ ต้องการสามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้(จากการทดลองโดยสอนหนู เล่นบาสเกตบอลเริ่มจากการให้อาหารเมื่อหนูจับลูกบาสเกตบอลจากนั้นเมื่อมัน โยนจึงให้อาหารต่อมาเมื่อโยนสูงขึ้นจึงให้อาหารในที่สุดต้องโยนเข้าห่วงจึง ให้อาหารการทดลองนี้เป็นการกำหนดให้หนูแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการก่อนจึงให้ แรงเสริมวิธีนี้สามารถดัดนิสัยหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้)
3.ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull’sSystematic Behavior Theory)
ฮัลล์ (Hull1884-1952:ไม่ระบุ)ได่กล่าวว่า หลักการทดลองของเขาใช้หลักการคณิตศาสตร์มาสร้างทฤษฎีทางจิตวิทยาอย่างมีระบบ ซึ่งเป็นแบบS-Rคือการต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยกล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ต่างๆในรูปของคณิตศาสตร์มีการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างการ จูงใจกับกลไกในการรู้เรียนและกล่าวถึงพื้นฐานของการเรียนรู้เกิดจากการเสริม แรงมากกว่าการจูงใจ
สรุป
การกระทำและปรากฏการณ์ต่างๆรอบตัวและขณะที่สังเกตปรากฏการณ์ต่างๆเหล่านั้น เกิดความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหล่านั้นทำให้เกิดเป็นทฤษฎีหลาย ทฤษฎีด้วยกันซึ่งแต่ละทฤษฎีก็มีความพยายามใช้รูปแบบนั้นให้เหมาะสมกับการ เรียนรู้หลายรูปแบบปรับเปลี่ยนไปกันเรื่อยๆ
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมนักคิดกลุ่มนี้จะมองธรรมชาติของมนุษย์ใน ลักษณะที่เป็นกลางการกระทำของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทำให้ พฤติกรรมของมนุษย์ตอบสนองต่อสิ่งเร้ากลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจเพราะ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและทดสอบได้ทำให้เกิดเป็นแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับการเรียนรู้เช่นทฤษฎีการเชื่อมโยง ทฤษฎีการวางเงื่อนไข ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นต้น
3.นวัตกรรมคืออะไร
ตอบ มอร์ตัน เจ(1971:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่าการปรับปรุงของเก่าให้ใหม่ขึ้นและพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรตลอดจนหน่วยหรือองค์กรนั้นนวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่ง เก่าให้หมดไปแต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
ไชยยศ เรืองสุวรรณ(2521:14)ได้กล่าวว่าวิธีการปฎิบัติใหม่ๆที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจ จะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะ สมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่า ได้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขึ้น
ปีเตอร์เอฟ.ดรักเกอร์(1995:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่าเครื่องมือที่สำคัญสำหรับผู้ ประกอบการในการแสวงผลประโยชน์และโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆเพื่อสร้าง ธุรกิจและบริการที่แตกต่างจากคู่แข่งนวัตกรรมเป็นความสามารถที่ถูกแสดงออกมา ในรูปแบบของการฝึกฝนศักยภาพในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้จริง
จรูญ วงศ์สายัณห์(2520:37)ได้กล่าวว่าความพยายามใดๆจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่มากน้อย เพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่ เดิมแล้วกับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรมได้พยายามศึกษา ถึงที่มาลักษณะกรรมมาวิธีและผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องคำว่าน วัตกรรมมักจะหมายถึงสิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จ และแผ่กว้างออกไปจเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญเช่นการปลูกฝีในวงการแพทย์ การทำเหล็กกล้าในวงการอุตสาหกรรมเป็นต้น
กิดานันท์ มลิทอง(2540:245)ได้กล่าวว่านวัตกรรมเป็นแนวคิดการปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีมาใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดดัแปลงจากของเดิมที่มีอยู่ แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงาน นั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลา และรายงานได้ด้วย
ชัยยงค์ พรหมวงศ์(2521:3-4)ได้กล่าวว่าหลักการปฏิบัติและแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมของประเทศหนึ่งอาจจะเป็นนวัตกรรมของประเทศอื่นก็ ได้และสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมแล้วในอดีตหากมีการใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมแต่สิ่งที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีตหากมีการนำมาปรับปรุง ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสิ่งนั้นถือได้ว่าเป็นนวัตกรรม
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์(2514:4)ได้กล่าวว่าการเลือกการจัดและการใช้ทรัพยากรทั้งบุคคลและ วัสดุอย่างชาญฉลาดในวิถีทางใหม่ๆซึ่งเป็นผลให้ได้รับความสำเร็จนั้นเป็นความ สำเร็จในจุดประสงค์
ที่วางไว้และหมายรวมถึงการนำสิ่งใหม่ๆซึ่งอาจเป็นความคิดวิธีการระบบความรู้ หรือเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงของที่มีอยู่เดิมให้ผลดียิ่ง ขึ้น
สรุป
นวัตกรรมเป็นแนวความคิดของมนษย์ที่พยายามหาวิธีการปฎิบัติใหม่ๆขึ้นมาเพื่อ หาแนวทางการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานนั้นดีกว่าเดิมอีกทั้งยังมีความทันสมัยขึ้น
4.นวัตกรรมทางการศึกษาคืออะไร
ตอบ ชนาธิป พรกุล(2537:59)ได้กล่าวว่าสิ่งที่นำเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อ ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนวัตกรรมที่นำมาใช้อาจมีผู้คิดค้นขึ้นมาก่อนแล้ว หรือคิดใหม่เพื่อให้เหมาะในแต่ละสถานการณ์มีลักษณะเป็นแนวคิดหรือวิธีการ เช่นรูปแบบการสอนความคิดรวบยอด การสอนแบบจุลภาคและการเรียนรู้แบบร่วมมือหรือสื่อการเรียนการสอนเช่นบทเรียน สำเร็จรูป บทเรียนคอมพิวเตอร์ และชุดการสอนเป็นต้น
บุญเกื้อ ควรหาเวช(2543:14-15)ได้กล่าวว่าการนำเอาสิ่งใหม่ๆซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของ ความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่ง หวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่ง ขึ้น
ถวัลย์ มาศจรัส(2548:48)ได้กล่าวว่าความคิดใหม่รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้รับการประยุกต์ สร้างสรรค์และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิมหรือการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัยเชาวเลิศ เลิศโอฬาร
กอบกุลสรรพกิจจำนง(2543:5)ได้กล่าวว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นสื่อการส อน เทคนิคการสอน
การบริหารและการจัดการทางการศึกษาซึ่งเป็นสิ่งที่ค้นคิด/สร้างขึ้นใหม่หรือ ดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้หรือปฏิบัติอยู่ตามปกติที่ทำให้การเรียนการสอนมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและอยู่ระหว่างการทดลองใช้หรือยังไม่ได้รับการผนวกเข้า เป็นส่วนหนึ่งของการเรียน
ทัศนา แขมมณี(2526:12)ได้กล่าวว่ากระบวนการแนวคิดหรือวิธีการใหม่ๆทางการศึกษาซึ่ง อยู่ในระหว่างการทดลองที่จะจัดขึ้นมาอย่างมีระบบและกว้างขวางพอสมควรเพื่อ พิสูจน์ประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การยอมรับนำไปใช้ในระบบการศึกษาอย่างกว้าง ขวางต่อไป
สำลี ทองธิว(2526:3)ได้กล่าวว่านวัตกรรมการศึกษาเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ แก้ปัญหาทางการศึกษาหรือเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ได้ มาตรฐานคุณภาพเพิ่มขึ้นผู้สร้างนวัตกรรมจะคำนึงถึงว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้น มาจะต้องดีกว่าของเดิมคือจะต้องได้รับประโยชน์มากกว่าเดิมหรือมีความสะดวก มากขึ้นไม่ยากต่อการใช้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
สรุป
กระบวนการแนวคิดในลักษณะใหม่ๆที่เปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนการสอนตามจุด ประสงค์ที่วางไว้อีกทั้งยังช่วยให้แก้ปัญหาการเรียนการสอนและผู้เรียนได้มาก ขึ้น
5.เทคโนโลยีหมายถึงอะไร
ตอบ วิเชียรศรี(2527:59)ได้กล่าวว่าการนำความรู้หรือระเบียบการทางวิทยา ศาสตร์(วิทยาศาสตร์ประยุกต์)มาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆอย่างมีระบบทำให้มี การเปลี่ยนแปลงในระบบงานนั้นในทางที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นลงทุนน้อยแต่ได้ผล มากและมีประสิทธิภาพดี
ก่อ(2527:83)ได้กล่าวว่าการนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการต่างๆหรือมา ใช้ในงานสาขาต่างๆและเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบต่างๆ ด้วย
สมาน(2517:173)ได้กล่าวว่าการนำความรู้และระเบียบทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้ เป็นประโยชน์ในการทำงาน
สวัสดิ์(2517:1)ได้กล่าวว่าการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในงานสาขาต่างๆ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในระบบงานในทางที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นลงทุนนอยแต่ได้ ผลมากและมีประสิทธิภาพสูง
ผดุงยศ ดวงมาลา(2523:16)ได้กล่าวว่ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลสิ่ง ประดิษฐ์ใหม่ๆทางอุตสาหกรรมถ้าในแง่ของความรู้เทคโนโลยีจะหมายถึงความรู้ หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรมและกิจกรรมอื่นๆที่จะเอื้อ อำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หรืออาจสรุปว่าเทคโนโลยีคือความรู้ที่มนุษย์ ใช้ทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เองทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการ ควบคุมสิ่งแวดล้อม
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์(2531:170)ได้กล่าวว่าความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการและ ความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูงโดยปกติเทคโนโลยี นั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วยนั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติจึงมักใช้สองคำด้วยกันคือวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเน้นให้เข้าใจว่าทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึง จะมีประสิทธิภาพ
สุพิทย์ กาญจนพันธุ์(2541:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่าวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผนการ ประยุกต์ใช้และการประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบโดยให้ความสำคัญต่อ ทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์และปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือเพื่อจะ ได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในความหมายนี้เทคโนโลยีการศึกษา ใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
ชาร์ลส์ เอฟ.โฮบาน(1965:124)ได้กล่าวว่ามิใช่คนหรือเครื่องจักรแต่เป็นการจัดระเบียบ อันมีบูรณาการและความสลับซับซ้อนของความคิด
คาร์เตอร์วี กู๊ด(1973:592)ได้กล่าวว่าการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการศึกษา ต่างๆหรือมาใช้ในงานสาขาต่างๆทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
สรุป
การนำความรู้ของมนุษย์ตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ไปปฏิบัติใช้ด้านทรัพยากรต่างๆ แสวงหาแนวทางเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์อาจเป็นประโยชน์เมื่อนำมาใช้ อย่างถูกต้องและตรงกันข้ามอาจจะเป็นโทษต่อสิ่งแวดล้อม
6.เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงอะไร
ตอบสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี(2540:20)ได้กล่าวว่าเทคโนโลยี สารสนเทศหรือInformation Technology ที่มักเรียกกันว่าไอทีนั้นเน้นถึงการจัดการในการดำเนินงานสารสนเทศหรือ สารนิเทศในขั้นตอนต่างๆตั้งแต่การเสาะแสวงหาความแม่นยำและความเร็วทันต่อการ นำมาใช้ประโยชน์
ครรชิตมาลัยวงศ์(2540:77)ได้กล่าวว่าเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเก็บ ประมวลผลและเผยแพร่สารสนเทศซึ่งรวมแล้วก็คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมหรือComputer and Communicationsที่นิยมเรียกย่อๆว่าCCอย่างไรก็ตามมีแนวโน้มที่จะนับ เทคโนโลยีอื่นๆที่เป็นองค์ประกอบของCCที่เกี่ยวเนื่องขึ้นมาเป็นเทคโนโลยี สารสนเทศด้วยเช่นเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ เทคโนโลยีการศึกษา
วศิน เพิ่มทรัพย์(2548:198)การนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นองค์ ความรู้ใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อีกได้ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมา ใช้จัดการสารสนเทศต่างๆเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางด้าน คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีทางการสื่อสารและโทรคมนาคมเป็นต้น
จิมบา(1999:80)ได้กล่าวว่าเป็นเทคโนโลยีต่างๆที่ใช้ในการสร้างสรรค์จัดหาจัด เก็บเผยแพร่ค้นคืนจัดการและถ่ยทอดข้อมูลหรือสานสนเทศ
สานิตย์กายาผาด(2542:2)ได้กล่าวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ ใช้ในการประมวลผลได้อัตโนมัติอื่นๆเครื่องสมองกลเหล่านี้เป็นนวัตกรรมของ มนุษย์ที่สรางสรรค์ขึ้นมาเพื่อรวบรวมผลิตสื่อสารบันทึกเรียบเรียงใหม่แสดงผล ประโยชน์จากสารสนเทศ
วาสนา สุขกระสานติ(2541:6-1)ไดกล่าวว่ากระบวนการต่างๆและระบบงานที่ช่วยให้ได้ สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง1)เครื่องโทรคมนาคมต่างๆรวมทั้งซอฟแวร์ทั้ง แบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้านซึ่งเครื่องมือเหล่าจัด เป็นเครื่องมือสมัยใหม่และใช้เทคโนโลยีระดับสูง(HighTechnology)กระบวนการใน การนำเครื่องมือต่างๆมาใช้เพื่อรวบรวมจัดเก็บประมวลผลและแสดงผลลัพธ์เป็น สารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปพิจารณาจากคำจำกัดความ ดังกล่าวข้างต้นเมื่อมองวิวัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทเป็นอย่างมาก สำหรับโลกแห่งข้อมูลสารสนเทศในปัจจุบัน
สรุป
กระบวนการต่างๆและระบบงานที่ช่วยใหห้การทำงานทางด้านสารสนเทศซึ่งรวมแล้วก็ คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทเป็นอย่าง มากสำหรับโลกแห่งข้อมูลสารสนเทศในปัจจุบัน
7.เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทการศึกษามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
ตอบ(http://gotoknow.org/blog/klick2know/106346)นิทรรศการศิลปะเรามักจะ แสดงของจริงในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งและสถานที่ใดที่หนึ่งผู้ชมก็มีจำนวนหนึ่ง ที่สนใจจริงๆๆดังนั้นด้วยคุณสมบัติของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศก็สามารถออก แบบWebpageเพื่อแสดงภาพผลงานศิลปะได้หรือเรียกว่าe-ArtExhibitionดังนั้นใน ยุคต่อไปนี้แม้ศิลปะจะเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานแต่แต่การจัดแสดงต้องใช้ที่สูง จำนวนผู้ชมก็อาจจะไม่มากเท่าที่ควรซึ่งถ้านำภาพผลงานเผยแพร่ทางWebpageได้ ก่อจะก่อให้เกิดการแพร่หลายอย่างกว้างขวางทั่วโลกและผลที่ตามมาก็สามารถทำ ธุรกิจซื้อขายผ่านทางe-Commerceได้เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเผย แพร่ความรู้และผลงานทางศิลปะได้อย่างดีเช่นกัน
(http://mansuang1978.spaces.live.com/blog/cns!619F71E35556248!144.entry) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer-AssistedInstruction:CAI)เป็นกระบวนการเรียน การสอนโดใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆมีลักษณะเป็น การเรียนโดยตรงและเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์(Interactive)คือสามารถตอบ โต้ระหว่างผู้เขียนกับคอมพิวเตอร์ได้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายประเทศตาม วัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนได้เรียนกล่าวคือประเภทติวเตอร์ ประเภทแบบฝึกหัด ประเภทจำลอง
ประเภทการจำลองประเภทเกมประเภทแบบทดสอบซึ่งแต่ละประเภทก็มีจุดมุ่งหมายในการ ให้ความรู้แก่ผู้เรียนแต่วิธีการที่แตกต่างกันไป
(http://forum.datatan.net/index.php/topic,126.0.html)การเรียนการสอนโดย ใช้เว็ปเป็นหลักเป็นการจัดการเรียนที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิมการ เรียนการสอนแบบนี้อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่ง เป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอนที่เป็นเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการเรียนการ สอนให้เกิดการเรียนรู้การสืบค้นข้อมูลและเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนได้ทุกสถานที่ทุกเวลาการจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้มีชื่อเรียก หลายชื่อได้แก่การเรียนการสอนผ่านเว็ปการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น
สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญหลายด้านด้วยกันแต่บทบาทด้านการศึกษานั้น มีความจำเป็นอย่างมากซึ่งช่วยให้มนุษย์นั้นมีความรู้ความสามารถในการดำเนิน ชีวิตบทบทาของการศึกษานั้นมีการพัฒนาตามยุคตามสมัยที่แตกต่างกันไปปัจจุบัน นั้นมีความก้าวหน้าไปได้มากแต่ก็ควรคำนึงถึงผลกระทบที่จะได้รับจาเทคโนโลยี สารสนเทศบทบาทที่สำคัญในการศึกษาเช่นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้เว็ปเป็นหลัก เป็นต้น