วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

2.มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร
ตอบ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)
นักคิดในกลุ่มนี้เมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่ เลว(neutral-passive)การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่ง เร้า(stimulus-response)การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็น สิ่งที่เห็นได้ชัดสามารถวัดได้และทดสอบได้ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ประกอบ ด้วยแนวคิดสำคัญ3แนวด้วยกันคือ
1.ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์(Thorndike’sClassicalConnectionism)
ธอร์นไดค์(1814-1949:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองซึ่งหลายรูปแบบบุคคลจะมีการลองผิดลองถูก(trial and error)ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบรูปแบบที่ตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึง พอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วบุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบ เดียวและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไป เรื่อยๆ
2.ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(ConditioningTheory)
2.1ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ(ClassicalConditioning)
พาฟลอฟ(1849-1936:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่าได้ทำการทดลองให้สุนัขน้ำลายไหลด้วย เสียงกระดิ่งโดยธรรมชาติแล้วสุนัขจะไม่มีน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง แต่พาฟลอฟได้นำเอาผงเนื้อบดมาเป็นสิ่งเร้าคู่กับเสียงกระดิ่งผงเนื้อบดถือ ว่าเป็นสิ่งเร้าตามธรรมชาติ(Unconditioned Stimulus)ทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้เขาใช้สิ่งเร้าทั้งสองคู่กันหลายๆครั้งแล้ว ตัดสิ่งเร้าตามธรรมชาติออกเหลือแต่เสียงกระดิ่งซึ่งเป็นสิ่งเร้าท่า งเงื่อนไขปรากฏว่าสุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งอย่างเดียวสรุปได้ ว่าการเรียนรู้ของสุนัขเกิดจากการรูจักเชื่อมโยงระหว่างเสียงกระดิ่ง ผงเนื้อบดและพฤติกรรมน้ำลายไหล
พาฟลอฟจึงสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้
1.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้อง การทางธรรมชาติ(สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้รับผงเนื้อ)
2.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับ สิ่งเร้าตามธรรมชาติ(สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง)
3.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้า ตามธรรมชาติ(เมื่อสั่นกระดิ่งโดยไม่ให้ผงเนื้อติดๆกันหลายครั้งสุนัขจะหยุด น้ำลายไหล)
4.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตาม ธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ(เมื่อผ่านไปช่วง ระยะเวลาหนึ่งสั่นกระดิ่งใหม่โดยไม่ให้ผงเนื้อเช่นเดิมสุนัขจะน้ำลายไหลอีก)
5.มนุษยีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายๆกันและจะตอบสนอง เหมือนๆกัน(เมื่อสุนัขเรียนรู้โดยมีเสียงกระดิ่งเป็นเงื่อนไขแล้วถ้าใช้ เสียงนกหวีดหรือระฆังทีคล้ายเสียงกระดิ่งสุนุขก็จะมีน้ำลายไหลได้)
6.บุคคลมีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันไปและเลือกตอบ สนองได้ถูกต้อง(เอใช้เสียงกระดิ่งเสียงฉิ่งเสียงประทัดเสียงอื่นๆสุนัขจะ น้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งส่วนเสียงอื่นๆจะไม่ทำให้สุนัขน้ำลายไหล)
7.กฎแห่งการลดภาวะ(LawofExtinction)ความเข้มของการตอบสนองจะลดลงเรื่อยๆหาก บุคคลได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างเดียว
8.กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ(LawofSpontaneous Recovery)กล่าวคือการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขที่ลดลงสามารถเกิดขึ้นได้อีก
9.กฎแห่งการถ่ยโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่นๆ(LawofGeneralization)เมื่อ เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขหากมีสิ่งเร้าคล้ายๆกับสิ่งเร้าที่วาง เงื่อนไขมากระตุ้นอาจทำให้เกิดการตอบสนองเหมือนกัน
10.กฎแห่งการจำแนกความแตกต่างๆ(LawofDiscrimanation)หากมีการใช้สิ่งเร้าที่ วางเงื่อนไขหลายแบบแต่มีกาใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขเข้าคู่กับสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นสามารถแยกความแตกต่างและเลือกตอบ สนองเฉพาะสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเท่านั้นได้
2.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง(Contiguous Conditionig)
กัทธรี(1886-1959:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่าได้ทำการทดลองโดยปล่อยแมวที่หิวจัด เข้าไปในกล่องปัญหามีเสาเล็กๆตรงกลางมีกระจกที่ประตูทางออกมีปลาแซลมอลวาง ไว้นอกกล่องเสาในกล่องเป็นกลไกเปิดประตูแมวบางตัวใช้แบบแผนการกระทำหลายแบบ เพื่อจะออกจากกล่องแมวบางตัวใช้วิธีเดียวกัทธรีอธิบายว่าแมวใช้การกระทำคร้ง สุดท้ายที่ประสบผลสำเร็จเป็นแบบแผนยึดไว้สำหรับแก้ปัญหาครั้งต่อไปและการ เรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียวก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำ เป็นต้องทำซ้ำอีกกฎการเรียนรู้ของกัทธรีสรุปไดดังนี้
1.กฎแห่งความต่อเนื่อง(LawofContiguity)
เมื่อมีกลุ่มสิ่งเร้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากระตุ้นจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง
2.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว(Onetrial learning)
เมื่อมีสภาวะสิ่งเร้ามากระตุ้นอินทรีย์จะแสดงปฏิกิริยาออกมาถ้าเกิดการเรียน รู้ขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียวก็นับว่าได้เรียนรู้ขึ้นแล้วไม่จำเป็นต้องทำ ซ้ำอีก
3.กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย(LawofRecency)หากการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่าง สมบูรณ์แล้วในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่งเมื่อมีสภาพใหม่เกิดขึ้นอีกบุคคลจะ กระทำเหมือนที่เคยได้กระทำในครั้งสุดท้ายที่ได้เกิดการเรียนรู้นั้นไม่ว่าจะ ผิดหรือถูกก็ตาม
4.หลักการจูงใจ(Motivation)การเรียนรู้เกิดจากการจูงใจมากกว่าเสริมแรง
2.3ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์(OperantConditioning)
สกินเนอร์(1904-1990:ไม่ระบุ)ได้กล่าวว่า1.การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกส่วนการกระทำที่ไม่มการเสริมแรงแนวโน้มที่ความ ถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด(จากการทดลองโดยนำหนูที่หิวจัดใส่ กล่องภายในมีการบบังคับให้อาหารตกลงไปในกล่องได้ตอนแรกหนูจะวิ่งชนโน่นชนนี่ เมื่อชนคานจะมีอาหารตกให้กินทำหลายๆครั้งพบว่าหนูจะตกคานทำให้อาหารตกลงมาไป ได้เร็วขึ้น)
2.การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตาย ตัว(จากการทดลองโดยเปรียบเทียบหนูที่หิวจัด2ตัวตัวหนึ่งกดคานจะได้อาหารทุก ครั้งอีกตัวหนึ่งกดคานบางทีก็ได้อาหารบางทีก็ไม่ได้อาหารแล้วหยุดให้อาหาร ตัวแรกจะเลิกกดคานทันทีตัวที่2จะยังกดต่อไปอีกนานกว่าตัวแรก)
3.การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว(จากการทดลองโดยนำหนูที่หิวจัดใส่ กรงแล้วช็อกด้วยไฟ้ฟ้าหนูจะวิ่งพลานจนออกมาได้เมื่อจับหนูใส่เข้าไปใหม่มัน จะวิ่งพล่านอีกจำไม่ได้ว่าทางไหนคือทางออก)
4.การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลหรือให้รางวัลเมื่ออินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ ต้องการสามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้(จากการทดลองโดยสอนหนู เล่นบาสเกตบอลเริ่มจากการให้อาหารเมื่อหนูจับลูกบาสเกตบอลจากนั้นเมื่อมัน โยนจึงให้อาหารต่อมาเมื่อโยนสูงขึ้นจึงให้อาหารในที่สุดต้องโยนเข้าห่วงจึง ให้อาหารการทดลองนี้เป็นการกำหนดให้หนูแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการก่อนจึงให้ แรงเสริมวิธีนี้สามารถดัดนิสัยหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้)
3.ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull’sSystematic Behavior Theory)
ฮัลล์ (Hull1884-1952:ไม่ระบุ)ได่กล่าวว่า หลักการทดลองของเขาใช้หลักการคณิตศาสตร์มาสร้างทฤษฎีทางจิตวิทยาอย่างมีระบบ ซึ่งเป็นแบบS-Rคือการต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยกล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ต่างๆในรูปของคณิตศาสตร์มีการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างการ จูงใจกับกลไกในการรู้เรียนและกล่าวถึงพื้นฐานของการเรียนรู้เกิดจากการเสริม แรงมากกว่าการจูงใจ
สรุป
การกระทำและปรากฏการณ์ต่างๆรอบตัวและขณะที่สังเกตปรากฏการณ์ต่างๆเหล่านั้น เกิดความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหล่านั้นทำให้เกิดเป็นทฤษฎีหลาย ทฤษฎีด้วยกันซึ่งแต่ละทฤษฎีก็มีความพยายามใช้รูปแบบนั้นให้เหมาะสมกับการ เรียนรู้หลายรูปแบบปรับเปลี่ยนไปกันเรื่อยๆ
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมนักคิดกลุ่มนี้จะมองธรรมชาติของมนุษย์ใน ลักษณะที่เป็นกลางการกระทำของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทำให้ พฤติกรรมของมนุษย์ตอบสนองต่อสิ่งเร้ากลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจเพราะ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและทดสอบได้ทำให้เกิดเป็นแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับการเรียนรู้เช่นทฤษฎีการเชื่อมโยง ทฤษฎีการวางเงื่อนไข ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น