วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

4.นวัตกรรมทางการศึกษาคืออะไร
ตอบ ชนาธิป พรกุล(2537:59)ได้กล่าวว่าสิ่งที่นำเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อ ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนวัตกรรมที่นำมาใช้อาจมีผู้คิดค้นขึ้นมาก่อนแล้ว หรือคิดใหม่เพื่อให้เหมาะในแต่ละสถานการณ์มีลักษณะเป็นแนวคิดหรือวิธีการ เช่นรูปแบบการสอนความคิดรวบยอด การสอนแบบจุลภาคและการเรียนรู้แบบร่วมมือหรือสื่อการเรียนการสอนเช่นบทเรียน สำเร็จรูป บทเรียนคอมพิวเตอร์ และชุดการสอนเป็นต้น
บุญเกื้อ ควรหาเวช(2543:14-15)ได้กล่าวว่าการนำเอาสิ่งใหม่ๆซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของ ความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่ง หวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่ง ขึ้น
ถวัลย์ มาศจรัส(2548:48)ได้กล่าวว่าความคิดใหม่รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้รับการประยุกต์ สร้างสรรค์และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิมหรือการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัยเชาวเลิศ เลิศโอฬาร
กอบกุลสรรพกิจจำนง(2543:5)ได้กล่าวว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นสื่อการส อน เทคนิคการสอน
การบริหารและการจัดการทางการศึกษาซึ่งเป็นสิ่งที่ค้นคิด/สร้างขึ้นใหม่หรือ ดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้หรือปฏิบัติอยู่ตามปกติที่ทำให้การเรียนการสอนมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและอยู่ระหว่างการทดลองใช้หรือยังไม่ได้รับการผนวกเข้า เป็นส่วนหนึ่งของการเรียน
ทัศนา แขมมณี(2526:12)ได้กล่าวว่ากระบวนการแนวคิดหรือวิธีการใหม่ๆทางการศึกษาซึ่ง อยู่ในระหว่างการทดลองที่จะจัดขึ้นมาอย่างมีระบบและกว้างขวางพอสมควรเพื่อ พิสูจน์ประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การยอมรับนำไปใช้ในระบบการศึกษาอย่างกว้าง ขวางต่อไป
สำลี ทองธิว(2526:3)ได้กล่าวว่านวัตกรรมการศึกษาเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ แก้ปัญหาทางการศึกษาหรือเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ได้ มาตรฐานคุณภาพเพิ่มขึ้นผู้สร้างนวัตกรรมจะคำนึงถึงว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้น มาจะต้องดีกว่าของเดิมคือจะต้องได้รับประโยชน์มากกว่าเดิมหรือมีความสะดวก มากขึ้นไม่ยากต่อการใช้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
สรุป
กระบวนการแนวคิดในลักษณะใหม่ๆที่เปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนการสอนตามจุด ประสงค์ที่วางไว้อีกทั้งยังช่วยให้แก้ปัญหาการเรียนการสอนและผู้เรียนได้มาก ขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น